วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

การค้นหาข้อมูลและติดต่อสื่อสารผ่าน้ครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุรธรรมและจริยะรรม

ม.2 ภาคเรียนที่1/2558

บทที่3 การค้นหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมายและการพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านการเรียน  การทำงาน  การติดต่อสื่อสาร  และความบันเทิง  เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  และมีซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้ใช้งานมากมาย  การศึกษาความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้รู้จักและเข้าใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
ความหมายของอินเทอร์เน็ต                                                                    
                 อินเทอร์เน็ต (internet)  หมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยโครงสร้างของระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  และใช้งานรูปแบบต่าง ๆ
                อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะ  จึงเข้าสู่เครือข่ายได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายทั่วโลก 
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตพัฒนามาจากเครือข่ายอาร์พาเน็ต(ARPAnet)  ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางการทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย  และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง  ดังลำดับต่อไปนี้
พ.ศ. 2512              เครือข่ายอาร์พาเน็ตเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรก
พ.ศ.2515               ปรับปรุงเครือข่ายอาร์พาเน็ตให้ใช้งานได้จริงและเปลี่ยนชื่อเป็น ดาร์พา (DARPAnet)
พ.ศ.2518               โอนความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานการสื่อสารของกองทัพ
พ.ศ.2526               ขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น  โดยใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอลชนิดทีซีพี/ไอพี
(TCP/IP)
พ.ศ.2532               ประเทศไทยเริ่มเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2546               เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.2549               เกิดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศไทย  ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์สมุดพก
พ.ศ.2552               เกิดระบบ 3G  ในโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในรูปแบบสื่อประสม
การทำงานของอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนใยแมงมุมที่แผ่ออกไปกว้างไกลและมีจุดเชื่อมต่อกันได้มายมาย  โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ก่อนแล้ว  ซึ่งเรียกว่า  ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายจะเก็บค่าบริการไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อว่าใช้เทคโนโลยีใด  เช่น  เอดีเอสแอล(ADSL)  ไอเอสดีเอ็น (ISDN)  แอร์การ์ด (air card)  ทรีจิ(3G)  หรือโมเด็มธรรมดาและมีความเร็วสูงมากน้อยเพียงไร  เชื่อมต่อตลอดเวลาหรือเป็นครั้งคราว  จำกัดเวลาใช้งานหรือไม่  เป็นผู้เรียกดูเรียกใช้บริการอย่างเดียว หรือเป็นผู้ให้บริการแก่คนอื่น  หรือให้บริการฟรี  เช่น  สถาบันการศึกษาให้นักศึกษาในสังกัดใช้งานอินเทอร์เน็ตฟรี  เป็นต้น
            เทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต มีดังนี้
                โมเด็ม(modem)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งมีสายสัญญาณนำส่งข้อมูลได้แต่ไม่รวดเร็วเท่ากับเทคโนโลยีอื่น ๆ
                เอดีเอสแอล(ADSL)  คือ  เทคโนโลยีของโมเด็มซคึ่งมีสายสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็มธรรมดา  และสามารถพูดโทรศัพท์ขณะใช้อินเทอร์เน็ตได้
                ไอเอสดีเอ็น(ISDN)  คือ  บริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิทัลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ  เสียง  และข้อมูลได้เร็วกว่าโมเด็มธรรมดา
                แอร์การ์ด(aircard)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก  และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
                ทรีจี(3G)  คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล  โทรศัพท์เคลื่อนที่  วิทยุเทป  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ตไว้ด้วยกัน  ตลอดจนให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงสำหรับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก
an>/ไอพี
(TCP/IP)
พ.ศ.2532               ประเทศไทยเริ่มเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2546               เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.2549               เกิดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศไทย  ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์สมุดพก
พ.ศ.2552               เกิดระบบ 3G  ในโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในรูปแบบสื่อประสม
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของเทคโนโลยีเอดีแอสแอล  ไอเอสดีเอ็น  และโมเด็ม  มีขั้นตอนที่เหมือนกัน  ดังนี้
1. ผู้ใช้ขอเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต จากผู้ให้บริการโดยการพิมพ์ชื่อเข้าใช้ (login)  และรหัสผ่าน (password)
2. โมเด็มจะทำหน้าที่หมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการพร้อมกับลงชื่อเข้าใช้และรหัสผ่านไปด้วย
3. ข้อมูลชื่อเข้าใช้  และรหัสผ่านเดินทางผ่านทางสายโทรศัพท์
4. ผู้ให้บริการได้รับการร้องขอเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะทำการตรวจสอบชื่อเข้าใช้  และรหัสผ่าน  ถ้าถูกต้องจะส่งข้อมูลกลับไปว่า  เข้าใช้สำเร็จ
5. ผู้ใช้จะสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ทันที
                สำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยแอร์การ์ดทำได้โดยเสียบแอร์การ์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เปิดเครื่องไว้แล้ว  จากนั้นคลิกปุ่มคำสั่ง Connect  ก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้  ส่วนการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบทรีจี  ซึ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง  เมื่อเปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทันที  สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งคราว  ต้องเข้าไปที่รายการการเชื่อมต่อ  แล้วเลือกจีพีอาร์เอส(GPRS)  ติดต่อกับเครื่องแม่ข่าย  เพื่อขอใช้งานจึงจะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
           ไอเอสดีเอ็น(ISDN)  คือ  บริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิทัลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ  เสียง  และข้อมูลได้เร็วกว่าโมเด็มธรรมดา                แอร์การ์ด(aircard)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก  และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
                ทรีจี(3G)  คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล  โทรศัพท์เคลื่อนที่  วิทยุเทป  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ตไว้ด้วยกัน  ตลอดจนให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงสำหรับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
                การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ  ซึ่งผู้ใช้ควรศึกษาวิธีการใช้ให้เข้าใจและฝึกใช้เป็นประจำจึงจะใช้ได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์มากที่สุด  ดังตัวอย่าง
            อีเมล์
                อีเมล์(e-mail)  หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นการส่งข้อความอย่างเดียวหรือแนบไฟล์  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียงไปกับข้อความ  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการส่งจดหมายหรือพัสดุทางไปรษณีย์  แต่ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากกว่า  โดยมีซอฟต์แวร์เป็นบุรุษไปรษณีย์  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเส้นทางการส่งจดหมาย  และการจ่าหน้าซองจดหมายหรือพัสดุเป็นการอ้างอิงที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  แทนการเขียนลงบนซองจดหมายหรือกล่องพัสดุ
                การส่งอีเมล์ถึงผู้รับมีขั้นตอน  ดังนี้
1.       ลงทะเบียนเพื่อขอใช้บริการอีเมลของเว็บไซต์ที่ให้บริการก่อน  ในกรณีที่ยังไม่สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี
2.       เข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการ (login)  โดยพิมพ์ชื่อเข้าใช้ (username)  และรหัสผ่าน(password)
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง NEW  หรือ สร้าง
4.       พิมพ์ที่อยู่ของผู้รับ
5.       พิมพ์หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่จะส่งไปให้ผู้รับ
6.       พิมพ์ข้อความที่ต้องการส่ง
7.       คลิกปุ่มคำสั่ง Send  หรือ  ส่ง
เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมล์  ซึ่งสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น www.hotmail.com,  www.gmail.com,  www.yahoo.com เป็นต้น
               


บล็อก
                บล็อก (blog)  ย่อมาจากคำว่า เว็บล็อก(weblog)  ซึ่งเป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียนและจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้บนสุด
                บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วยข้อความ  ภาพ  การเชื่อมโยงภายในบล็อกและเว็บไซต์อื่น  และบางครั้งอาจมีสื่อต่าง ๆ เช่น  เพลง  วิดีโอ  ร่วมด้วย  บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูลสามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเขียนขึ้น  และเจ้าของบล็อกสามารถโต้ตอบกลับได้ทันที
                บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย  โดยเจ้าของบล็อกสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร ประกาศข่าย  แสดงความคิดเห็น  และเผยแพร่ผลงานได้  นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนขึ้นเฉพาะเรื่องส่วนตัวจะเรียกว่า  ไดอารีออนไลน์  และบริษัทเอกชนหลายแห่งได้จัดทำบล็อกขึ้นเพื่อเสนอแนวความคิดใหม่ให้กับลูกค้าในรูปแบบข่าวสั้น และเมื่อได้รับการตอบรับจากลูกค้า  จึงนำการตอบรับนี้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการต่อไป
                การใช้งานบล็อกในฐานะผู้อ่านและต้องการ่วมแสดงความคิดเห็น  ทำได้ดังนี้
1.       เข้าไปในบล็อกที่ต้องการอ่านหรือร่วมแสดงความคิดเห็น  โดยเลือกผ่านการสืบค้นด้วยโปรแกรมเรียกค้นข้อมูล
2.       พิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็น
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ส่งความคิดเห็น
เว็บไซต์ที่ให้บริการสมาชิกได้สร้างเว็บในลักษณะของเว็บบล็อกได้ฟรีที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ hi5,  Facebook,  Bloger,  Ning, Gotoknow เป็นต้น
            การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล  หรือ  เอฟทีพี(FTP : File Transfer Protocol)  เป็นบริการของสถานีบริการโอนย้ายข้อมูล  ซึ่งอาจเป็นขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มีการนำข้อมูลมาเก็บไว้  ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เป็นเอกสาร  หรือแฟ้มข้อมูลอื่นใดก็ได้  สถานีบริการนี้จะดูแลแฟ้มและให้บริการแก่ผู้เรียกใช้  ทั่งในระยะใกล้และสถานีห่างไกลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยผู้เรียกใช้สามารถติดต่อเข้าไปเพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการมาใช้งานได้
                นอกจากนี้  การโอนย้ายข้อมูล  ยังสามารถนำข้อมูลของผู้ใช้ที่มีอยู่  โอนย้ายไปให้ผู้อื่น หรือนำไปไว้ในเครื่องบริการที่เชื่อมต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตที่อื่น  ซึ่งผู้ใช้มีสิทธิ์ในการใช้
                ซอฟต์แวร์โอนย้ายข้อมูลที่นิยมใช้กันมีอยู่หลายชนิด  เช่น  WS_FTP, Cute FTP, FileZilla เป็นต้น ซึ่งในทีนี้จะขอนำเสนอวิธีการใช้งานซอฟต์แวร์ WS_FTP เพราะมีวิธีการติดตั้งไม่ยุ่งยากและใช้งานง่าย
                การโอนย้ายข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ WS_FTP ที่ติดตั้งแล้ว  ทำได้โดยเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  แล้วปฎิบัติดังนี้
1.       ดับเบิลคลิกที่ปุ่มคำสั่งของซอฟต์แวร์ WS_FTP เพื่อเปิดใช้งาน
2.       เลือกข้อมูลที่ต้องการโอนย้าย
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง Ü
4.       แสดงการโอนย้ายสำเร็จ
การสืบค้นข้อมูลโดยใช้โปรแกรมเรียกค้นข้อมูล (search engine)
                บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลมากมายให้สืบค้น  ทั้งข่าวสาร  บทความ  รูปภาพ  เพลง  มิวสิกวิดีโอ  แผนที่  ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สืบค้น  โดยการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการแบบประหยัดเวลานั้น  ต้องทราบแหล่งที่มีข้อมูล  วิธีการสืบค้นและมีโปรแกรมเรียกค้นข้อมูล
                เซิร์ซเอนจิน (search engine)เป็นโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลหรือโปรแกรมช่วยสืบค้นข้อมูลที่เก็บไว้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมเรียกค้นข้อมูล  สามารถพบได้ทั้งเว็บไซต์ต่างประเทศและในประเทศ  เช่น www.google.comwww.google.co.th,www.yahoo.comwww.lycos.com,  www.sanook.com,  www.siamguru.com เป็นต้น  ซึ่งเว็บไซต์ที่คนไทยคุ้ยเคยกันดีก็คือ  www.google.co.th นั่นเอง
การสืบค้นข้อมูลภาษาไทยโดยใช้โปรแกรมเรียกค้นข้อมูลของ www.google.co.th มีขั้นตอน  ดังนี้
1.       เปิดเว็บเพจกูเกิล  โดยพิมพ์ www.google.co.th ลงในช่องว่าง  แล้วกดปุ่ม Enter
2.       พิมพ์คำค้นหาหรือคำสำคัญ(keyword)  ที่ต้องการสืบค้นข้อมูลลงในช่องว่าง
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ค้นหาด้วย Google
4.       คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการสืบค้นข้อมูล  แล้วจะปรากฎรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นั้น ๆ
หมายเหตุ
www.google.co.th  เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ  Search engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ซึ่งมีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ อีเมล  เครือข่ายออนไลน์  แผนที่ออนไลน์  ก่อตั้งโดย  แลร์รี เพจ  และเซอร์เกย์ บริน  คำว่า google  มาจากจำนวนทางคณิตศาสตร์  หมายถึง  เลข 1  ตามด้วย 0  อีกร้อยตัว  หรือ  10100  เพื่อแสดงว่าบริษัทต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล
            การสนเทนาบนเครือข่าย
                การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต  นอกเหนือจากการใช้อีเมลแล้ว ยังสามารถสนทนาพูดคุยกันได้  โดยใช้ซอฟต์แวร์ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป  เช่น  พิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ด  การพูดคุยผ่านไมโครโฟน  และการพูดคุยผ่านเว็บแคมซึ่งสามารถมองเห็นหน้าตาผู้สนทนา  รวมถึงสามารถส่งไฟล์ข้อมูล  ข้อความภาพและเสียงไปให้คู่สนทนาขณะพูดคุยกันได้  เป็นต้น 
                ซอฟต์แวร์สนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม  เช่น  เอ็มเอสเอ็น  เมสเซนเจอร์ (MSN Messenger)  ไอซีคิว (ICQ) เป็นต้น
                ตัวอย่างการสนทนาบนเครือข่าย ด้วยซอฟต์แวร์  เอ็มเอสเอ็น  เมสเซนเจอร์ (MSN Messenger)  มีขั้นตอนดังนี้
1.       คลิกปุ่มคำสั่ง  start  >  All Programs  >  Windows Live  >  Windows Live Messenger  หรือ  ดับเบิลคลิกไอคอน  ..... บนหน้าต่างทำงาน
2.       ลงชื่อเข้าใช้และรหัสผ่าน
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ลงชื่อเข้าใช้
4.       คลิกลงบนรายชื่อเพื่อนที่ต้องการสนทนาด้วย  แล้วเลือกส่งข้อความด่วน
5.       พิมพ์ข้อความสนทนาลงไปยังช่องว่างด้านล่าง  แล้วกดปุ่ม  Enter  บนคีย์บอร์ด  จะปรากฎข้อความสนทนาที่หน้าต่างด้านบน
ถ้าคู่สนทนาส่งข้อความตอบกลับมา ปุ่มคำสั่งซอฟต์แวร์จะกระพริบและมีเสียงเตือนให้อ่านข้อความ
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
                คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต  เป็นแบบแผนความประพฤติหรือความสำนึกต่อสังคมในทางที่ดีเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต  เพื่อความปลอดภัยและความสงบสุขในสังคมอินเทอร์เน็ต  โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว  ขึ้นอยู่กับการยอมรับทางสังคมของสังคมนั้น ๆ เป็นหลัก  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเกี่ยวข้องกับความคิด  และตัดสินใจได้ว่า  สิ่งไหนควรหรือไม่ควรปฏิบัติ  ดีหรือไม่ดี  ถูกหรือผิด  ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
                1. ความเป็นส่วนตัว  หมายถึง  สิทธิ์ส่วนตัวของบุคคล  หน่วยงาน  หรือ องค์กร  ที่จะคงไว้ซึ่งสารสนเทศที่มีอยู่  โดยให้เปิดเผยหรือยินยอมให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือเผยแพร่ได้หรือไม่  หากมีการนำไปใช้  จะมีการจัดการกับสิทธิ์ดังกล่าวอย่างไร
                ความเป็นส่วนตัวนี้มักพบเห็นได้จากผู้ให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้ใช้บริการฟรี  เช่น  บริการฟรีอีเมล  บริการพื้นที่เก็บข้อมูล  บริการใช้งานโปรแกรมฟรี  ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะเข้าใช้งานจำเป็นต้องกรอกให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของตนเองเสียก่อน  จึงจะสามารถเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์  และใช้งานได้เต็มรูปแบบ
                2. ความถูกต้องแม่นยำ  หมายถึง  ความเป็นจริงและความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ควรตระหนักอยู่เสมอว่า  ข้อมูลและสารสนเทศนั้น  มีการกลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้อง  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้
                3. ความเป็นเจ้าของ หมายถึง สิทธิ์โดยชอบในการแสดงความเป็นเจ้าของข้อมูลหรือสารสนเทศ  ของบุคคลหรือบริษัทผู้ผลิต  การนำข้อมูลหรือสารสนเทศไปเผยแพร่  ลอกเลียน  หรือทำซ้ำ  โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นการละเมิดสิทธิ์ของความเป็นเจ้าของ  ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายและต้องรับโทษ
                4. การเข้าถึงข้อมูล  หมายถึง  การปฏิบัติตนเพื่อเข้าใช้ข้อมูลหรือสารสนเทศในเว็บไซต์ของบุคคลหรือบริษัทบางแห่งที่มีการกำหนดสิทธิ์ของผู้เข้าใช้เป็นระดับต่าง ๆ ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่ต้องการมาให้ได้ทั้งหมด  ผู้ใช้ที่ดีไม่ควรลักลอบเข้าไปใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต  ไม่พยายามก่อกวนหรือเข้าไปกระทำการอันจะส่งผลเสียหายใด ๆ รวมถึงปกป้องไม่ให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของตนเองตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี  เช่น  ไม่ควรบอกชื่อเข้าใช้และรหัสผ่านในอีเมลของตนเองแก่ผู้อื่น  ไม่ควรบอกรหัสผ่านเอทีเอ็มของธนาคารที่เราเปิดบัญชีแก่ผู้อื่น  เป็นต้น
ผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตกับสังคม
                อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยไปแล้ว  โดยเป็นแหล่งสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศต่างๆ  ซึ่งข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านบวกที่มีประโยชน์  และผลกระทบด้านลบที่สร้างความเสียหายต่อร่างกาย  จิดใจและการดำรงชีวิตของผู้ใช้
มารยาท ระเบียบ  และข้อบับคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
                อินเทอร์เน็ตเป็นบริการสาธารณะที่มีผู้ใช้จำนวนมาก  จึงต้องมีมารยาท  ระเบียบ  และข้อบังคับในการใช้  ให้ผู้เข้ามาใช้บริการปฎิบัติร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง  การละเมิดลิขสิทธิ์  การก่อความเสียหายต่อตัวบุคคล  ซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์  โดยแบ่งเป็น  2  ประเด็น  ได้แก่
1. การใช้อินเทอร์เน็ต  ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่าง ๆ แบ่งเป็น  4  ด้าน  ดังนี้
1.1 ด้านการติดต่อสื่อสารบนเครือข่าย  ประกอบด้วย
(1) ไม่ควรนำชื่อบัญชี และรหัสผ่าน ของผู้อื่นมาใช้  และนำข้อมูลของผู้อื่นไปกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ
(2) เก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ  และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะ ๆ
(3) ประหยัดเวลาการเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยวางแผนการใช้งานไว้ล่วงหน้า
(4) เลือกถ่ายโอนข้อมูลและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ตามที่ใช้งานจริงเท่านั้น
(5) ก่อนเข้าใช้บริการต่าง ๆ ต้องศึกษา  กฎ  ระเบียบ  ข้อกำหนด  รวมทั้งธรรมเนียมปฎิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการใช้งาน
1.2 ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้  ประกอบด้วย
(1) ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสารและใช้คำให้ถูกความหมาย  เขียนถูกต้องตามหลักไวยกรณ์
(2) ใช้ข้อความที่สั้น  กระทัดรัด  เข้าใจง่าย
(3) ไม่นำความลับ  หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อสนทนา  รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
(4) หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูกเหยียดหยามศาสนา  วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
(5) สอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อสื่อสารด้วยก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ไปให้
(6) ไม่ส่งจดหมายลูกโซ่ผ่านทางไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ไปก่อความรำคาญและเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
1.3 ด้านการใช้ข้อมูลในเครือข่าย  ประกอบด้วย
(1) เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ  มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่และสถานที่ที่ติดต่อได้
(2) ต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้  และไม่แอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
(3) ไม่นำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
1.4 ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ  ประกอบด้วย
(1) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นได้ใช้งานบ้าง  ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่มีจำนวนเครื่องที่เปิดให้ใช้งานน้อย
(2) ติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. การใช้อินเทอร์เน็ตในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล  มีดังนี้
(1) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  และข่าวสารต่าง ๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
(2) ใช้ภาษาที่สุภาพและเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต  และ  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้สะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
(3) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์  ไม่นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี  รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น  และข้อมูลที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม
(4) บีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
(5) ระบุแหล่งที่มา  วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล  ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์ของผู้เผยแพร่  รวมทั้งควรมีคำแนะนำ  และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
(6) ระบุข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา  ข่าวลือ  ความจริง  หรือ  ความคิดเห็น
(7) ไม่เผยแพร่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลข่าวสาร  รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
(8) ไม่ส่งข้อมูลข่าวสารหรือซอฟต์แวร์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ไปให้ผู้อื่นหรือเผยแพร่ในระบบอินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น