วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ม.2ภาคเรียนที่1/2558


 
ความหมายของคอมพิวเตอร์ 
      หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูง อย่างต่อเนื่อง และอัตโนมัติ
 
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด
แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา
ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น
 
2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย
จากอดีตสู่ปัจจุบัน
     พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์
     เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์
     เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด มีการใช้ลูกคิดในหมู่ชาวจีนมากกว่า 7000 ปี และใช้ในอียิปต์โบราณมากกว่า 2500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข
     เครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2185
     คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการ คำนวณ โดยที่ยังไม่มีการ นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย ลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้
     ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด
     ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
     พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถ ทำการคูณและหาร ได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง
      พ.ศ 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง
     เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2216 นักปราชญษชาวเยอรมันชื่อ Gottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่งคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถทหการคูณและหารได้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหาร ก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
      พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก
     พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ
     แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึง เครื่องมือในการคำนวนที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คอืเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
  1. ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
  2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
  3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
  4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ
     เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Alaytical Engine มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ในปี พ.ศ. 2385 ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์
     พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศลเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่แก่ อยู่หนึ่งภาษาคือภาษา Ada มาจาก ชื่อของ Lady Ada) นอกจากนี้ Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักของการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต
     พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้ใช้หลักพีชคณิตเผยแพร่กฎของ Boolean Algebra ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายเหตุผลของตรรกวิทยาที่ตัวแปรมีค่าได้เพียง "จริง" หรือ "เท็จ" เท่านั้น (ใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 0 กับ 1 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกพื้นฐาน คือ AND, OR และ NOT)
     สิ่งที่ George Boole คิดค้นขึ้น นับว่ามีประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น การยากที่จะใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งมีเพี่ยง 2 สภาวะ คือ เปิด กับ ปิด ในการแทน เลขฐานสิบซึ่งมีอยู่ถึง 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 แต่เป็นการง่ายกว่าเราแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 จึงถือว่าสิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการ ออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
     พ.ศ. 2423 Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติซึ่ง ใช้กับบัตรเจาะรู เครื่องนี้ได้รับการพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้นและมาใช้งานสำรวจสำมะโนประชากร ของสหรัฐอเมริกา ในป พ.ศ. 2433 และช่วยให้การสรุปผลสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง (โดยก่อนหน้านั้นต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่ง) เรียกบัตรเจาะรูนี้ว่า บัตรฮอลเลอริธ และชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกบัตรนี้ ก็คือ บัตร ไอบีเอ็ม หรือบัตร 80 คอลัมน์ เพราะผู้ผลิตคือ บริษัท IBM

การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน

ม.2 ภาคเรียนที่1/2558



บทที่ 4 การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน

ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์
 
ซอฟแวร์ (Software)  เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
     การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น  จึงขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์เป็นสำคัญ  โดยต้องเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
 
 
ประเภทของซอฟต์แวร์
1)ซอฟต์แวร์ระบบ (System software)
1.1ระบบปฏิบัติการ  หรือโอเอส (Os: Operating System) ใช้ในการดูระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีในเครื่องในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
 ระบบปฏิบัติการที่ควรรู้จักมี  ดังนี้
(1)ดอส(DOS: Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรในการจัดระบบงาน ซึ่งนิยมใช้ในอดีต
(2)วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากดอส ซึ่งผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเมาส์ร่วมกับการใช้แผงแป้นอักขระทำงานหลายงานพร้อมกันได้
(3)ยูนิกส์(UNIX) ใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันและทำงานได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย
(4) ลีนุกส์(Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากยูนิกส์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ทุกคนสามารถนำไปใช้แก้ ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
(5) แมคอินทอช(Macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์
  
1.2) ตัวแปลภาษา
(1) คอมไพเลอร์ (Compiler) ทำงานโดยเป็นโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น คอมไพเลอร์ที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาซี   ตัวแปลภาษาปาสคาล เป็นต้น
(2)   อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)  ทำงานโดยแปลโปรแกรมทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงแปลคำสั่งลำดับต่อไป อินเทอร์พรีเตอร์ที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาบาสิก ตัวแปลภาษาโลโก ตัวแปลภาษาโคบอล เป็นต้น
 
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์
   2.1) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งานทั่วไป
(1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(Word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพิมพ์เอกสาร
(2) ซอฟต์แวร์ตารางงาน(Spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ
(3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล(Database management software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
(4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอที่สะดวกรวดเร็ว
(5) ซอฟต์แวร์สื่อสารและค้นหาข้อมูล(data communication and discovery software) ซอฟต์แวร์สื่อสารเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(6) ซอฟต์แวร์กราฟิก(Graphic software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง ออกแบบ วาดหรือจัดแต่งเอกสารและรูปภาพ
 
 2.2)ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ เป็นซอฟต์แวร์สำหรับงานแต่ละประเภทซึ่งตรงตามความต้องการของผู้ใช้
การใช้ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน
1)การบีบอัดข้อมูล
1. เลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์หลายๆไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการซิปคลิกด้วยเมาส์ซ้ายพร้อมกับกดปุ่ม Ctrl บนแผงแป้นอักขระค้างไว้จนกระทั่งได้ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการซิปครบตามจำนวน
2. คลิกเมาส์ขวาที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการซิปอันใดอันหนึ่งของกลุ่มไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการลดขนาด
3. เลือกคำสั่ง Send to และ Compressed (zipped) Folder 
4. ผลลัพธ์ที่ได้จะพบข้อมูลที่ถูกซิป ซึ่งมีรูปร่างคล้ายโฟลเดอร์มีซิปรูดหรือตู้มีลิ้นชัก
2) การขยายข้อมูล
1. คลิกเมาส์ขวาที่โฟลเดอร์ซึ่งซิปไว้
2. เลือกคำสั่ง  Extract files
3.วินโดวส์จะแสดงตำแหน่งที่เก็บไฟล์ที่ขยายแล้ว ถ้าต้องการเปลื่ยนตำแหน่งที่เก็บให้คลิกที่ไดเร็กทอรีทรี
4.คลิกปุ่มคำสั่ง Ok
5.ผลลัพธ์ที่ได้  คือไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ขยายแล้ว
 
3) การตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่พบเป็นประจำ  เช่น ม้าโทรจัน (Trojan) หนอน (Wams) ซอฟต์แวร์สอดแนม (Spyware) เป็นต้น
การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
1) การติดตั้งซอฟต์แวร์แอนทีไวรัสต่างๆ และทำการปรับปรุงฐานข้อมูลของซอฟต์แวร์อยู่เสมอเพื่อป้องกันและทำการตรวจสอบหาไวรัส
2) หมั่นตรวจสอบและแก้ไขจุดอ่อนของระบบปฏิบัติการ
3) ปรับปรุงการทำงานของระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ในระบบให้มีความปลอดภัยสูง ดังนี้
-ปรับปรุงซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
-ปรับปรุงซีเคียวริโซน(Security Zone)
-เปิดระบบไฟล์วอลล์(Firewall) ที่บิลด์อิน (built-in) ซึ่งจะอยู่ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอกส์พี
-ไม่ควรทำการแบ่งปันไฟล์ข้อมูลต่างๆผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหากไม่จำเป็น
 
4) ระมัดระวังทุกๆครั้งที่ทำการอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และเปิดไฟล์จากสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆดังนี้
-ไม่เปิดอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และไฟล์ที่แนบมากับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ทราบแหล่งที่มา
-ไม่เปิดอ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหัวเรื่องเชิญชวนให้ติดตาม
-ทุกครั้งที่จะทำการเปิดไฟล์ข้อมูลต่างๆให้ใช้โปรแกรมแอนทีไวรัส  ตรวจสอบหาไวรัสก่อน
-ไม่เปิดไฟล์ที่มีนามสกุลแปลก
-ไม่ใช้สื่อบันทึกข้อมูลร่วมกับบุคคลหรือระบบอื่น
 
5) สำรองข้อมูลที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ไว้เสมอ
ลักษณะอาการของคอมพิวเตอร์ที่แสดงถึงการมีไวรัส
-ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกซอฟต์แวร์ขึ้นมาทำงาน
-ปุ่มคำสั่งต่างๆใหญ่ขึ้น
-วันเวลาของซอฟต์แวร์เปลี่ยนไป
-ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อยๆ
-เกิดตัวอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
-เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่
-แผงแป้นอักขระทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
-ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
-ไฟล์แสดงสถานการณ์ทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
-ไฟล์ข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ที่เคยใช้หายไป
-เครื่องทำงานช้าลง
-เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
-ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
     
       เมื่อมีอาการดังกล่าวต้องตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์ทันทีโดยมีขั้นตอน  ดังนี้
1)ดับเบิลคลิกที่ปุ่มคำสั่งของซอฟต์แวร์ตรวจสอบไวรัสที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
2)คลิกปุ่มคำสั่ง  Computers scan แล้วเลือกตรวจสอบไวรัสทั้งหมดทุกไฟล์ทุกโฟลเดอร์ (Smart scan) หรือเลือกตรวจสอบไวรัสเฉพาะที่ต้องการ (Custom scan
3)ถ้าเลือกตรวจสอบไวรัสจากสื่อบันทึกข้อมูลที่กำลังนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้เมาส์คลิกลงในช่องว่างหน้าไดร์ฟที่นำเข้าข้อมูล   แล้วคลิกปุ่มคำสั่ง
      การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน
      1)การใช้ซอฟต์แวร์ในการคำนวณและจัดเรียงข้อมูล
การคำนวณและจัดเรียงข้อมูลเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของไมโครซอฟต์เอกซ์เซล ซึ่งเมื่อคลิกปุ่มคำสั่ง Start เลือก Programs Office และ Microsoft Office Excel จะพบหน้าต่างการทำงานของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เอกซ์เซล
1.1    การคำนวณ การคำนวณในไมโครซอฟต์เอกซ์เซลสามารถทำได้โดยการใช้สูตรฟังก์ชัน  ซึ่งคล้ายคลึงกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์

(1) เครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ
+       คือ      บวก
-        คือ      ลบ
*        คือ      คูณ
/        คือ      หาร
%      คือ      เปอร์เซ็นต์
^        คือ      ยกกำลัง
=       คือ      เท่ากับ
>       คือ      มากกว่า
<       คือ      น้อยกว่า
> =    คือ      มากกว่าหรือเท่ากับ
< =    คือ      น้อยกว่าหรือเท่ากับ
< >    คือ      ไม่เท่ากัน
( )      คือ      วงเล็บ
&       คือ      นำข้อความตั้งแต่ 2 ข้อความมารวมกัน
:        คือ      ถึง
 
(2) หลักการเขียนสูตรในไมโครซอฟต์เอกซ์เซล   มีหลักการดังนี้
- ต้องพิมพ์เครื่องหมาย = ในช่องคำนวณก่อนเสมอ
- สูตรในไมโครซอฟต์เอกซ์เซลจะเขียนในบรรทัดเดียว
สูตรในไมโครซอฟต์เอกซ์เซลไม่สามารถสร้างเป็นเศษส่วนได้
- ในไมโครซอฟต์เอกซ์เซลจะมีการลำดับความสำคัญของเครื่องหมายโดยเครื่องหมายที่มีลำดับแรกจะถูกคำนวณก่อน
1.( )     
2. %
3. ^
4.*และ/
5.+และ-
(3) ตัวอย่างการคำนวณโดยใช้สูตร
1) คลิกที่เซลล์ช่องผลรวมของเครื่องเขียน  แล้งพิมพ์สูตรลงในช่องดังกล่าว ซึ่งในที่นี้จะหาผลรวมของราคาสมุด โดยใช้สูตร = C2*D2
2) กดปุ่ม Enter บนแผงแป้นอักขระ จะได้ผลลัพธ์ที่ปรากฏ
 
(4) การฟังก์ชันในการคำนวณ
1) คลิกเซลล์ที่ต้องการให้ปรากฏผลรวม แล้วพิมพ์ฟังก์ชัน โดยในที่นี้ต้องการหาผลรวมของเซลล์  E2 ถึง E7 จึงพิมพ์ = SUM (E2:E7)
2) กดปุ่ม Enter บนแผงแป้นอักขระจะปรากฏผลลัพธ์
 
1.2 การจัดเรียงข้อมูล
1) คลิกเมาส์เลือกเฉพาะหัวข้อที่ต้องการจัดเรียงข้อมูล
2) คลิกคำสั่ง Data แล้วเลือก Sort
3) เลือกรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลโดยคลิก ascending เมื่อต้องการเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก และคลิก descending เมื่อต้องการเรียงข้อมูลจากมากไปน้อย
4) คลิกปุ่มคำสั่ง  OK
     
      2)การใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการค้นหาคำศัพท์และความหมาย
ตัวอย่างการค้นความหมายของคำภาษาไทยจากเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถานมีขั้นตอน ดังนี้
1)พิมพ์ที่อยู่ (URL) ของราชบัณฑิตยสถานลงในช่องว่าง แล้วกดปุ่ม Enter บนแผงแป้นอักรขะเพื่อค้นหาเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถาน
 2) เมื่อปรากฏหน้าเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถานแล้วเลือกพจนานุกรม
3) พิมพ์คำที่ต้องการคำค้นหาความหมายในช่องว่าง
4) คลิกปุ่มคำสั่ง  ส่งคำค้นหา
       3) การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อความบันเทิ
ตัวอย่างการใช้ซอฟต์แวร์วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์ชมภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดี
1) คลิกคำสั่ง  Start เลือก Programs และ Windows Media Player
2) คลิกคำสั่ง Play แล้วเลือก DVD, VCD or CD Audio
3) ใส่แผ่นดีวีดีภาพยนตร์เข้าไปในช่องอ่านดีวีดี แล้งชมภาพยนตร์

การค้นหาข้อมูลและติดต่อสื่อสารผ่าน้ครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุรธรรมและจริยะรรม

ม.2 ภาคเรียนที่1/2558

บทที่3 การค้นหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

ความหมายและการพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านการเรียน  การทำงาน  การติดต่อสื่อสาร  และความบันเทิง  เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย  และมีซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้ใช้งานมากมาย  การศึกษาความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้รู้จักและเข้าใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
ความหมายของอินเทอร์เน็ต                                                                    
                 อินเทอร์เน็ต (internet)  หมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยโครงสร้างของระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  และใช้งานรูปแบบต่าง ๆ
                อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะ  จึงเข้าสู่เครือข่ายได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายทั่วโลก 
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตพัฒนามาจากเครือข่ายอาร์พาเน็ต(ARPAnet)  ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางการทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย  และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง  ดังลำดับต่อไปนี้
พ.ศ. 2512              เครือข่ายอาร์พาเน็ตเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรก
พ.ศ.2515               ปรับปรุงเครือข่ายอาร์พาเน็ตให้ใช้งานได้จริงและเปลี่ยนชื่อเป็น ดาร์พา (DARPAnet)
พ.ศ.2518               โอนความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานการสื่อสารของกองทัพ
พ.ศ.2526               ขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น  โดยใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอลชนิดทีซีพี/ไอพี
(TCP/IP)
พ.ศ.2532               ประเทศไทยเริ่มเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2546               เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.2549               เกิดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศไทย  ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์สมุดพก
พ.ศ.2552               เกิดระบบ 3G  ในโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในรูปแบบสื่อประสม
การทำงานของอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนใยแมงมุมที่แผ่ออกไปกว้างไกลและมีจุดเชื่อมต่อกันได้มายมาย  โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ก่อนแล้ว  ซึ่งเรียกว่า  ซึ่งผู้ให้บริการแต่ละรายจะเก็บค่าบริการไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อว่าใช้เทคโนโลยีใด  เช่น  เอดีเอสแอล(ADSL)  ไอเอสดีเอ็น (ISDN)  แอร์การ์ด (air card)  ทรีจิ(3G)  หรือโมเด็มธรรมดาและมีความเร็วสูงมากน้อยเพียงไร  เชื่อมต่อตลอดเวลาหรือเป็นครั้งคราว  จำกัดเวลาใช้งานหรือไม่  เป็นผู้เรียกดูเรียกใช้บริการอย่างเดียว หรือเป็นผู้ให้บริการแก่คนอื่น  หรือให้บริการฟรี  เช่น  สถาบันการศึกษาให้นักศึกษาในสังกัดใช้งานอินเทอร์เน็ตฟรี  เป็นต้น
            เทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต มีดังนี้
                โมเด็ม(modem)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งมีสายสัญญาณนำส่งข้อมูลได้แต่ไม่รวดเร็วเท่ากับเทคโนโลยีอื่น ๆ
                เอดีเอสแอล(ADSL)  คือ  เทคโนโลยีของโมเด็มซคึ่งมีสายสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็มธรรมดา  และสามารถพูดโทรศัพท์ขณะใช้อินเทอร์เน็ตได้
                ไอเอสดีเอ็น(ISDN)  คือ  บริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิทัลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ  เสียง  และข้อมูลได้เร็วกว่าโมเด็มธรรมดา
                แอร์การ์ด(aircard)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก  และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
                ทรีจี(3G)  คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล  โทรศัพท์เคลื่อนที่  วิทยุเทป  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ตไว้ด้วยกัน  ตลอดจนให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงสำหรับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก
an>/ไอพี
(TCP/IP)
พ.ศ.2532               ประเทศไทยเริ่มเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2546               เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ.2549               เกิดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในประเทศไทย  ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์สมุดพก
พ.ศ.2552               เกิดระบบ 3G  ในโทรศัพท์เคลื่อนที่  ซึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ในรูปแบบสื่อประสม
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของเทคโนโลยีเอดีแอสแอล  ไอเอสดีเอ็น  และโมเด็ม  มีขั้นตอนที่เหมือนกัน  ดังนี้
1. ผู้ใช้ขอเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต จากผู้ให้บริการโดยการพิมพ์ชื่อเข้าใช้ (login)  และรหัสผ่าน (password)
2. โมเด็มจะทำหน้าที่หมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการพร้อมกับลงชื่อเข้าใช้และรหัสผ่านไปด้วย
3. ข้อมูลชื่อเข้าใช้  และรหัสผ่านเดินทางผ่านทางสายโทรศัพท์
4. ผู้ให้บริการได้รับการร้องขอเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะทำการตรวจสอบชื่อเข้าใช้  และรหัสผ่าน  ถ้าถูกต้องจะส่งข้อมูลกลับไปว่า  เข้าใช้สำเร็จ
5. ผู้ใช้จะสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ทันที
                สำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยแอร์การ์ดทำได้โดยเสียบแอร์การ์ดเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่เปิดเครื่องไว้แล้ว  จากนั้นคลิกปุ่มคำสั่ง Connect  ก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้  ส่วนการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบทรีจี  ซึ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง  เมื่อเปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทันที  สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งคราว  ต้องเข้าไปที่รายการการเชื่อมต่อ  แล้วเลือกจีพีอาร์เอส(GPRS)  ติดต่อกับเครื่องแม่ข่าย  เพื่อขอใช้งานจึงจะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
           ไอเอสดีเอ็น(ISDN)  คือ  บริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิทัลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ  เสียง  และข้อมูลได้เร็วกว่าโมเด็มธรรมดา                แอร์การ์ด(aircard)  คือ  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายเข้ากับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก  และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
                ทรีจี(3G)  คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูล  โทรศัพท์เคลื่อนที่  วิทยุเทป  กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ตไว้ด้วยกัน  ตลอดจนให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงสำหรับคอมพิวเตอร์สมุดพกหรือโน๊ตบุ๊ก
การใช้งานอินเทอร์เน็ต
                การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ  ซึ่งผู้ใช้ควรศึกษาวิธีการใช้ให้เข้าใจและฝึกใช้เป็นประจำจึงจะใช้ได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์มากที่สุด  ดังตัวอย่าง
            อีเมล์
                อีเมล์(e-mail)  หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นการส่งข้อความอย่างเดียวหรือแนบไฟล์  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียงไปกับข้อความ  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการส่งจดหมายหรือพัสดุทางไปรษณีย์  แต่ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากกว่า  โดยมีซอฟต์แวร์เป็นบุรุษไปรษณีย์  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเส้นทางการส่งจดหมาย  และการจ่าหน้าซองจดหมายหรือพัสดุเป็นการอ้างอิงที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  แทนการเขียนลงบนซองจดหมายหรือกล่องพัสดุ
                การส่งอีเมล์ถึงผู้รับมีขั้นตอน  ดังนี้
1.       ลงทะเบียนเพื่อขอใช้บริการอีเมลของเว็บไซต์ที่ให้บริการก่อน  ในกรณีที่ยังไม่สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี
2.       เข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการ (login)  โดยพิมพ์ชื่อเข้าใช้ (username)  และรหัสผ่าน(password)
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง NEW  หรือ สร้าง
4.       พิมพ์ที่อยู่ของผู้รับ
5.       พิมพ์หัวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่จะส่งไปให้ผู้รับ
6.       พิมพ์ข้อความที่ต้องการส่ง
7.       คลิกปุ่มคำสั่ง Send  หรือ  ส่ง
เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมล์  ซึ่งสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น www.hotmail.com,  www.gmail.com,  www.yahoo.com เป็นต้น
               


บล็อก
                บล็อก (blog)  ย่อมาจากคำว่า เว็บล็อก(weblog)  ซึ่งเป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียนและจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้บนสุด
                บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วยข้อความ  ภาพ  การเชื่อมโยงภายในบล็อกและเว็บไซต์อื่น  และบางครั้งอาจมีสื่อต่าง ๆ เช่น  เพลง  วิดีโอ  ร่วมด้วย  บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูลสามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเขียนขึ้น  และเจ้าของบล็อกสามารถโต้ตอบกลับได้ทันที
                บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย  โดยเจ้าของบล็อกสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร ประกาศข่าย  แสดงความคิดเห็น  และเผยแพร่ผลงานได้  นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนขึ้นเฉพาะเรื่องส่วนตัวจะเรียกว่า  ไดอารีออนไลน์  และบริษัทเอกชนหลายแห่งได้จัดทำบล็อกขึ้นเพื่อเสนอแนวความคิดใหม่ให้กับลูกค้าในรูปแบบข่าวสั้น และเมื่อได้รับการตอบรับจากลูกค้า  จึงนำการตอบรับนี้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการต่อไป
                การใช้งานบล็อกในฐานะผู้อ่านและต้องการ่วมแสดงความคิดเห็น  ทำได้ดังนี้
1.       เข้าไปในบล็อกที่ต้องการอ่านหรือร่วมแสดงความคิดเห็น  โดยเลือกผ่านการสืบค้นด้วยโปรแกรมเรียกค้นข้อมูล
2.       พิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็น
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ส่งความคิดเห็น
เว็บไซต์ที่ให้บริการสมาชิกได้สร้างเว็บในลักษณะของเว็บบล็อกได้ฟรีที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ hi5,  Facebook,  Bloger,  Ning, Gotoknow เป็นต้น
            การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล
การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล  หรือ  เอฟทีพี(FTP : File Transfer Protocol)  เป็นบริการของสถานีบริการโอนย้ายข้อมูล  ซึ่งอาจเป็นขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มีการนำข้อมูลมาเก็บไว้  ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์  เป็นเอกสาร  หรือแฟ้มข้อมูลอื่นใดก็ได้  สถานีบริการนี้จะดูแลแฟ้มและให้บริการแก่ผู้เรียกใช้  ทั่งในระยะใกล้และสถานีห่างไกลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยผู้เรียกใช้สามารถติดต่อเข้าไปเพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการมาใช้งานได้
                นอกจากนี้  การโอนย้ายข้อมูล  ยังสามารถนำข้อมูลของผู้ใช้ที่มีอยู่  โอนย้ายไปให้ผู้อื่น หรือนำไปไว้ในเครื่องบริการที่เชื่อมต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตที่อื่น  ซึ่งผู้ใช้มีสิทธิ์ในการใช้
                ซอฟต์แวร์โอนย้ายข้อมูลที่นิยมใช้กันมีอยู่หลายชนิด  เช่น  WS_FTP, Cute FTP, FileZilla เป็นต้น ซึ่งในทีนี้จะขอนำเสนอวิธีการใช้งานซอฟต์แวร์ WS_FTP เพราะมีวิธีการติดตั้งไม่ยุ่งยากและใช้งานง่าย
                การโอนย้ายข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ WS_FTP ที่ติดตั้งแล้ว  ทำได้โดยเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  แล้วปฎิบัติดังนี้
1.       ดับเบิลคลิกที่ปุ่มคำสั่งของซอฟต์แวร์ WS_FTP เพื่อเปิดใช้งาน
2.       เลือกข้อมูลที่ต้องการโอนย้าย
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง Ü
4.       แสดงการโอนย้ายสำเร็จ
การสืบค้นข้อมูลโดยใช้โปรแกรมเรียกค้นข้อมูล (search engine)
                บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลมากมายให้สืบค้น  ทั้งข่าวสาร  บทความ  รูปภาพ  เพลง  มิวสิกวิดีโอ  แผนที่  ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สืบค้น  โดยการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการแบบประหยัดเวลานั้น  ต้องทราบแหล่งที่มีข้อมูล  วิธีการสืบค้นและมีโปรแกรมเรียกค้นข้อมูล
                เซิร์ซเอนจิน (search engine)เป็นโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลหรือโปรแกรมช่วยสืบค้นข้อมูลที่เก็บไว้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมเรียกค้นข้อมูล  สามารถพบได้ทั้งเว็บไซต์ต่างประเทศและในประเทศ  เช่น www.google.comwww.google.co.th,www.yahoo.comwww.lycos.com,  www.sanook.com,  www.siamguru.com เป็นต้น  ซึ่งเว็บไซต์ที่คนไทยคุ้ยเคยกันดีก็คือ  www.google.co.th นั่นเอง
การสืบค้นข้อมูลภาษาไทยโดยใช้โปรแกรมเรียกค้นข้อมูลของ www.google.co.th มีขั้นตอน  ดังนี้
1.       เปิดเว็บเพจกูเกิล  โดยพิมพ์ www.google.co.th ลงในช่องว่าง  แล้วกดปุ่ม Enter
2.       พิมพ์คำค้นหาหรือคำสำคัญ(keyword)  ที่ต้องการสืบค้นข้อมูลลงในช่องว่าง
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ค้นหาด้วย Google
4.       คลิกเลือกเว็บไซต์ที่ต้องการสืบค้นข้อมูล  แล้วจะปรากฎรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นั้น ๆ
หมายเหตุ
www.google.co.th  เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ  Search engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ซึ่งมีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ อีเมล  เครือข่ายออนไลน์  แผนที่ออนไลน์  ก่อตั้งโดย  แลร์รี เพจ  และเซอร์เกย์ บริน  คำว่า google  มาจากจำนวนทางคณิตศาสตร์  หมายถึง  เลข 1  ตามด้วย 0  อีกร้อยตัว  หรือ  10100  เพื่อแสดงว่าบริษัทต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล
            การสนเทนาบนเครือข่าย
                การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต  นอกเหนือจากการใช้อีเมลแล้ว ยังสามารถสนทนาพูดคุยกันได้  โดยใช้ซอฟต์แวร์ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป  เช่น  พิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ด  การพูดคุยผ่านไมโครโฟน  และการพูดคุยผ่านเว็บแคมซึ่งสามารถมองเห็นหน้าตาผู้สนทนา  รวมถึงสามารถส่งไฟล์ข้อมูล  ข้อความภาพและเสียงไปให้คู่สนทนาขณะพูดคุยกันได้  เป็นต้น 
                ซอฟต์แวร์สนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยม  เช่น  เอ็มเอสเอ็น  เมสเซนเจอร์ (MSN Messenger)  ไอซีคิว (ICQ) เป็นต้น
                ตัวอย่างการสนทนาบนเครือข่าย ด้วยซอฟต์แวร์  เอ็มเอสเอ็น  เมสเซนเจอร์ (MSN Messenger)  มีขั้นตอนดังนี้
1.       คลิกปุ่มคำสั่ง  start  >  All Programs  >  Windows Live  >  Windows Live Messenger  หรือ  ดับเบิลคลิกไอคอน  ..... บนหน้าต่างทำงาน
2.       ลงชื่อเข้าใช้และรหัสผ่าน
3.       คลิกปุ่มคำสั่ง  ลงชื่อเข้าใช้
4.       คลิกลงบนรายชื่อเพื่อนที่ต้องการสนทนาด้วย  แล้วเลือกส่งข้อความด่วน
5.       พิมพ์ข้อความสนทนาลงไปยังช่องว่างด้านล่าง  แล้วกดปุ่ม  Enter  บนคีย์บอร์ด  จะปรากฎข้อความสนทนาที่หน้าต่างด้านบน
ถ้าคู่สนทนาส่งข้อความตอบกลับมา ปุ่มคำสั่งซอฟต์แวร์จะกระพริบและมีเสียงเตือนให้อ่านข้อความ
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
                คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต  เป็นแบบแผนความประพฤติหรือความสำนึกต่อสังคมในทางที่ดีเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต  เพื่อความปลอดภัยและความสงบสุขในสังคมอินเทอร์เน็ต  โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว  ขึ้นอยู่กับการยอมรับทางสังคมของสังคมนั้น ๆ เป็นหลัก  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเกี่ยวข้องกับความคิด  และตัดสินใจได้ว่า  สิ่งไหนควรหรือไม่ควรปฏิบัติ  ดีหรือไม่ดี  ถูกหรือผิด  ในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
                1. ความเป็นส่วนตัว  หมายถึง  สิทธิ์ส่วนตัวของบุคคล  หน่วยงาน  หรือ องค์กร  ที่จะคงไว้ซึ่งสารสนเทศที่มีอยู่  โดยให้เปิดเผยหรือยินยอมให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือเผยแพร่ได้หรือไม่  หากมีการนำไปใช้  จะมีการจัดการกับสิทธิ์ดังกล่าวอย่างไร
                ความเป็นส่วนตัวนี้มักพบเห็นได้จากผู้ให้บริการข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้ใช้บริการฟรี  เช่น  บริการฟรีอีเมล  บริการพื้นที่เก็บข้อมูล  บริการใช้งานโปรแกรมฟรี  ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะเข้าใช้งานจำเป็นต้องกรอกให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของตนเองเสียก่อน  จึงจะสามารถเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์  และใช้งานได้เต็มรูปแบบ
                2. ความถูกต้องแม่นยำ  หมายถึง  ความเป็นจริงและความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เผยแพร่ควรตระหนักอยู่เสมอว่า  ข้อมูลและสารสนเทศนั้น  มีการกลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้อง  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้
                3. ความเป็นเจ้าของ หมายถึง สิทธิ์โดยชอบในการแสดงความเป็นเจ้าของข้อมูลหรือสารสนเทศ  ของบุคคลหรือบริษัทผู้ผลิต  การนำข้อมูลหรือสารสนเทศไปเผยแพร่  ลอกเลียน  หรือทำซ้ำ  โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นการละเมิดสิทธิ์ของความเป็นเจ้าของ  ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายและต้องรับโทษ
                4. การเข้าถึงข้อมูล  หมายถึง  การปฏิบัติตนเพื่อเข้าใช้ข้อมูลหรือสารสนเทศในเว็บไซต์ของบุคคลหรือบริษัทบางแห่งที่มีการกำหนดสิทธิ์ของผู้เข้าใช้เป็นระดับต่าง ๆ ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่ต้องการมาให้ได้ทั้งหมด  ผู้ใช้ที่ดีไม่ควรลักลอบเข้าไปใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต  ไม่พยายามก่อกวนหรือเข้าไปกระทำการอันจะส่งผลเสียหายใด ๆ รวมถึงปกป้องไม่ให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของตนเองตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี  เช่น  ไม่ควรบอกชื่อเข้าใช้และรหัสผ่านในอีเมลของตนเองแก่ผู้อื่น  ไม่ควรบอกรหัสผ่านเอทีเอ็มของธนาคารที่เราเปิดบัญชีแก่ผู้อื่น  เป็นต้น
ผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตกับสังคม
                อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยไปแล้ว  โดยเป็นแหล่งสำคัญในการให้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศต่างๆ  ซึ่งข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศนั้นก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านบวกที่มีประโยชน์  และผลกระทบด้านลบที่สร้างความเสียหายต่อร่างกาย  จิดใจและการดำรงชีวิตของผู้ใช้
มารยาท ระเบียบ  และข้อบับคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
                อินเทอร์เน็ตเป็นบริการสาธารณะที่มีผู้ใช้จำนวนมาก  จึงต้องมีมารยาท  ระเบียบ  และข้อบังคับในการใช้  ให้ผู้เข้ามาใช้บริการปฎิบัติร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง  การละเมิดลิขสิทธิ์  การก่อความเสียหายต่อตัวบุคคล  ซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์  โดยแบ่งเป็น  2  ประเด็น  ได้แก่
1. การใช้อินเทอร์เน็ต  ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่าง ๆ แบ่งเป็น  4  ด้าน  ดังนี้
1.1 ด้านการติดต่อสื่อสารบนเครือข่าย  ประกอบด้วย
(1) ไม่ควรนำชื่อบัญชี และรหัสผ่าน ของผู้อื่นมาใช้  และนำข้อมูลของผู้อื่นไปกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ
(2) เก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ  และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะ ๆ
(3) ประหยัดเวลาการเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยวางแผนการใช้งานไว้ล่วงหน้า
(4) เลือกถ่ายโอนข้อมูลและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ตามที่ใช้งานจริงเท่านั้น
(5) ก่อนเข้าใช้บริการต่าง ๆ ต้องศึกษา  กฎ  ระเบียบ  ข้อกำหนด  รวมทั้งธรรมเนียมปฎิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการใช้งาน
1.2 ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้  ประกอบด้วย
(1) ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสารและใช้คำให้ถูกความหมาย  เขียนถูกต้องตามหลักไวยกรณ์
(2) ใช้ข้อความที่สั้น  กระทัดรัด  เข้าใจง่าย
(3) ไม่นำความลับ  หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อสนทนา  รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
(4) หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูกเหยียดหยามศาสนา  วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
(5) สอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อสื่อสารด้วยก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ไปให้
(6) ไม่ส่งจดหมายลูกโซ่ผ่านทางไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ไปก่อความรำคาญและเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น
1.3 ด้านการใช้ข้อมูลในเครือข่าย  ประกอบด้วย
(1) เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ  มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่และสถานที่ที่ติดต่อได้
(2) ต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่นำมาใช้  และไม่แอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
(3) ไม่นำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
1.4 ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ  ประกอบด้วย
(1) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นได้ใช้งานบ้าง  ในกรณีที่เป็นอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่มีจำนวนเครื่องที่เปิดให้ใช้งานน้อย
(2) ติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. การใช้อินเทอร์เน็ตในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล  มีดังนี้
(1) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  และข่าวสารต่าง ๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
(2) ใช้ภาษาที่สุภาพและเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต  และ  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้สะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
(3) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์  ไม่นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี  รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น  และข้อมูลที่ทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม
(4) บีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตเพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
(5) ระบุแหล่งที่มา  วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล  ที่อยู่  หมายเลขโทรศัพท์ของผู้เผยแพร่  รวมทั้งควรมีคำแนะนำ  และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
(6) ระบุข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา  ข่าวลือ  ความจริง  หรือ  ความคิดเห็น
(7) ไม่เผยแพร่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลข่าวสาร  รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
(8) ไม่ส่งข้อมูลข่าวสารหรือซอฟต์แวร์ที่มีไวรัสคอมพิวเตอร์ไปให้ผู้อื่นหรือเผยแพร่ในระบบอินเทอร์เน็ต

หลักการและวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทส

ม.2 ภาคเรียนที่1/2558

บทที่ 2หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

   กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
             กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย  การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  การประมวลผล  การจัดเก็บ  การจัดการหรือการกระทำกับข้อมูลข่าวสาร  โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ  ในการปฎิบัติงาน  เพื่อให้ได้สารสนเทศหรือความรู้ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต  และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้เกิดความรู้ความเข้าใจร่วมกัน
             กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี  มีขั้นตอน ดังนี้
1.การรวบรวมข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลที่ต้องการจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูลมารวมกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  การให้กลุ่มเป้าหมายช่วยตอบแบบสอบถามที่ตนเองคิดขึ้นมา  การอ่านรหัสแท่งจากแถบรหัสสินค้า  หรืออ่านข้อมูลจากการฝนดินสอลงในกระดาษคำตอบในการทำข้อสอบ  เป็นต้น
2.การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องด้วยการใช้สายตามนุษย์หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  เหมาะสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
3.การประมวลผลข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลที่ได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องแล้วมาทำการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  จัดกลุ่ม  จัดเรียงตามตัวอักษร  และเปรีบเทียบหรือคำนวณข้อมูล  เพื่อให้ได้ผลสรุปที่เป็นสารสนเทศและนำไปใช้งานได้ 
4.การจัดเก็บ  เป็นการนำสารสนเทศที่ทำการประมวลผลแล้ว  มาจัดเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์  หรือสื่อบันทึกชนิดอื่น ๆ เช่น  แผ่นซีดี  แผ่นดีวีดี  หน่วยความจำแบบแฟลซ(แฟลซไดรฟ์) เป็นต้น
5.การทำสำเนา  เป็นการนำสารสนเทศที่จัดเก็บไว้มาทำสำเนาเพื่อสำรองสารสนเทศไว้ใช้หากข้อมูลต้นฉบับเกิดการสูญหาย  และสามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งทำได้หลายวิธี  เช่น  การถ่ายเอกสารเก็บไว้ในแฟ้ม  การทำสำเนาลงในแผ่นซีดี  แผ่นดีวีดี  หรือหน่วยความจำแบบแฟรซ  เป็นต้น
6.การเผยแพร่สารสนนเทศ  เป็นการนำสารสนเทศไปแจกจ่ายให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  การเผยแพร่ลงเว็บไซต์สาธารณะ  กระดานสนทนา  ทำแผ่นพับหรือใบปลิว  ทำสำเนาลงในสื่อบันทึกข้อมูล  วางไว้ในสถานที่ที่หยิบง่าย  จัดป้ายนิเทศในบริเวณที่เป็นจุดสนใจหรืองานนิทรรศการ  เป็นต้น
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน  โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  เพื่อให้การปฎิบัติงานสะดวกรวดเร็ว  ถูกต้องและแม่นยำ  ในการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา  จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงาน  ให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                วิธีแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นวิธีที่อาจคล้ายกับการแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น ๆ   แต่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา  หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  แต่ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน  ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง  นอกจากนี้  ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน  เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า  ต้องเลือกวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน  จัดหาเครื่องมือ  และเทคโนโลยีที่ไม่เกินจำเป็น
                การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำซาก  และมีปริมาณงานมาก  หรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้  วิธีการโดยทั่วไปก็คือ  ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิมมาใช้ระบบงานที่มีคอมพิวเตอร์ช่วย  ทำเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด  เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้
                ดังนั้น  การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  จึงต้องมีการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งโดยทั่วไปเราอาจไม่ต้องสร้างระบบงานทั้งหมดขึ้นใหม่  แต่พัฒนาระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์  นิยมเรียกกันว่า  การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์(Computerization) นั่นเอง
ดังนั้น  การแก้ปัญหาในการทำงานในปัจจุบันที่มีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน  ส่วนมากมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย  เพื่อเพิ่มความสะดวก  รวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำ  และสามารถทำซ้ำได้ง่าย

หลักการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีหลักการสำคัญ คือ  ปัญหาทุกปัญหาต้องสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการให้เหมาะสม  โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน  ด้านเวลา  ด้านแรงงาน  และค่าใช้จ่าย

การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา
                 การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาร่วมกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ และการเขียนโปรแกรม  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                1.การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการแก้ปัญหา  เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด  ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยนต์  ไมโครซอฟต์เอกซ์เซล  ไมโครซอฟต์แอกเซส  ซอฟต์แวร์โปรเดสท็อบ  เป็นต้น  ซึ่งโปรแกรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาในการทำงานได้  ดังนี้
                ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เวิร์ด(Microsoft Word)  ช่วยแก้ปัญหาในการจัดทำงานเอกสารต่าง ๆ เช่น  ช่วยให้การพิมพ์งานเอกสารทำได้รวดเร็วมากกว่าการใช้พิมพ์ดีดไฟฟ้า  มีการตรวจสอบการสะกดไวยากรณ์เพื่อป้องกันการพิมพ์ที่ผิดพลาด  สามารถลบคำผิดและปรับปรุงข้อความในเอกสารได้ง่ายและสะอาดเรียบร้อย  โดยไม่ต้องใช้น้ำยาลบคำผิด  แก้ปัญหาสิ้นเปลืองเวลาในการส่งจดหมายเวียนภายในองค์กรโดยพิมพ์จดหมายต้นแบบเพียงฉบับเดียวแล้วส่งไปให้ทุกหน่วยงานในองค์กรผ่านทางคอมพิวเตอร์แทนการถ่ายสำเนาเอกสาร  แล้วให้คนส่งเอกสารนำส่งทีละหน่วยงาน2.การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา  เป็นการใช้ความรู้ความสามารถด้านภาษาคอมพิวเตอร์และประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา  ดังตัวอย่าง
ภาษาคอมพิวเตอร์
การใช้งาน
ภาษาฟอร์แทน(Fortran)
ใช้แก้ปัญหาด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  และงานวิจัยต่าง ๆ
ภาษาโคบอล(COBOL)
ใช้แก้ปัญหาด้านงานธุรกิจ
ภาษาเบสิก(BASIC)
ใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา  เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมอาชีพ  และผู้ฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ
ภาษาปาสคาล(Pascal)
ใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ภาษาซีและซีพลัสพลัส(และ C++)
ใช้ในการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  และเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ภาษาวิชวลเบสิก(Visual Basic)
ใช้สร้างโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานได้หลากหลายบนระบบปฎิบัติการวินโดวส์  และใช้เป็นโปรแกรมแบบรูปภาพ  เช่น  ปุ่มคำสั่งต่าง ๆ
ภาษาจาวา(Java)
ใช้เขียนโปรแกรมประยุกต์สำหรับเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต  และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต
ภาษาเดลไฟ(Delphi)
ใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบรูปภาพ  เช่น  ปุ่มคำสั่งต่าง ๆ

โปรแกรมเชิงวัตถุและโปรแกรมเชิงจินตภาพแตกต่างกันอย่างไร
                โปรแกรมเชิงวัตถุ  ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์  จะแยกงานออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่าวัตถุ  เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกใช้  โดยสามารถนำมาประกอบและรวมกันได้  แต่จะเห็นผลลัพธ์เมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จแล้ว  ในขณะที่โปรแกรมเชิงจินตภาพ  ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถมองเห็นผลลัพธ์ของงานได้ตั้งแต่เริ่มพัฒนาโปรแกรมโดยไม่จำเป็นต้องรอให้การพัฒนานั้นเสร็จสมบูรณ์
โปรแกรมเมอร์/นักเขียนโปรแกรม(Programmer)
                เป็นอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการเขียนชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์  เพื่อใช้ในการทำงานและแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องภาษาคอมพิวเตอร์และการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี

วิธีการแก้ปัญหา
             มนุษย์ทุกคนต้องเคยพบกับปัญหา  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพ  ปัญหาการเรียน  ปัญหาการทำงาน  ปัญหาครอบครัว  ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการแก้ปัญหาแตกต่างกันไป  ตามความรู้ความสามารถ  และประสบการณ์  โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เคยศึกษาผ่านมาหรือเคยทดลองใช้แล้วประสบความสำเร็จ  เช่น  วิธีลองผิดลองถูก  วิธีการขจัด  วิธีการใช้เหตุผล  เป็นต้น  ซึ่งเมื่อพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่า  วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ต่างมีขั้นตอนที่เหมือนกัน
    วิธีการแก้ปัญหาเป็นหนึ่งในขั้นตอนการประมวลผลของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งแบ่งได้   ขั้นตอน  ดังนี้
         1.การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา  เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจกับปัญหา  เพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนโดยใช้คำถามต่อไปนี้
          ข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร           เพื่อ         ระบุข้อมูลเข้า
          สิ่งที่ต้องการคืออะไร                                                                เพื่อ         ระบุข้อมูลออก
          วิธีการที่ใช้ประมวลผลคืออะไร                                                  เพื่อ         กำหนดวิธีการประมวลผล
ตัวอย่าง  การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
          ระบุข้อมูลเข้า       ®          ความกว้างและความยาวของสี่เหลี่ยมผืนผ้า
          ระบุข้อมูลออก      ®          พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
          กำหนดวิธีการประมวลผล   ®      นำความกว้าง  และความยาวของสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาหาพื้นที่โดยการคูณ
          2.การวางแผนในการแก้ปัญหาและถ่ายทอดความคิดอย่างมีขั้นตอน  เป็นขั้นตอนการจำลองความคิดในการแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน  โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสามารถเข้าใจและปฎิบัติตามไปในแนวทางเดียวกัน  ซึ่งทำได้  2  รูปแบบ  ดังนี้
          2.1การใช้ข้อความหรือคำบรรยาย  เป็นการเขียนเค้าโครงแผนงานด้วยข้อความหรือคำบรรยายที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันหรือภาษาคอมพิวเตอร์  เพื่อให้ทราบขั้นตอนการทำงานของการแก้ปัญหาแต่ละขั้นตอน  ดังตัวอย่าง
ตัวอย่าง  การวางแผนหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้ข้อความหรือคำบรรยาย
เริ่มต้น
          1.กำหนดค่าความกว้าง
          2.กำหนดค่าความยาว
          3.คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าจากสูตร  กว้าง ยาว
          4.แสดงผลค่าพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
สิ้นสุด

2.2การใช้สัญลักษณ์  เป็นการใช้สัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ มาเรียงต่อกันเป็นแผนภาพเพื่อสื่อสารให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจตรงกัน  ซึ่งสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงนี้ได้กำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (ANSI : The American National Standard Institute)  ดังตัวอย่าง

3.การดำเนินการแก้ปัญหา  เป็นขั้นตอนการลงมือแก้ปัญหาตามที่วางแผนไว้  โดยอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือใช้การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา  ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาวิธีใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจและเชี่ยวชาญตลอดจนรู้จักปรับเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีกว่าเสมอ
4.การตรวจสอบและปรับปรุง  เป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการแก้ปัญหาว่าถูกต้องสอดคล้องกับข้อมูลเข้า  ข้อมูลออก  และวิธีการประมวลผลหรือไม่  ถ้ายังพบข้อบกพร่องต้องปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
                การใช้ขั้นตอนที่ 4  นี้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี