วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

ภาษีเงินได้นิติบุคคล



ภาษีเงินได้นิติบุคคล



ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย


 ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1.
บุคคลธรรมดา
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3.ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่่ง


เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?


1.  ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 16 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งสำหรับในต่างจังหวัดยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด)และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งแล้วแต่กรณี

2.ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายนของปีนั้นก่อนการยื่นภาษีประจำปีตามปกติ


เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

1.เงิน
2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริงที่ได้รับจริง
3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
(เกณฑ์เงินสด)
4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

เงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง?

แหล่งที่มาของเงินได้ ซึ่งแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้
1.เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
1.1หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ)

คนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนดจะต้องยื่นแสดงรายได้และจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับกรมสรรพากร โดยในปีภาษี 2561 (ที่จะยื่นแบบในช่วงต้นปี 2562) จะใช้โครงสร้างภาษีเหมือนที่ปรับใหม่ในปี 2560 ซึ่งมีการเพิ่มค่าลดหย่อนใหม่หลายประเภท คือ

 1. ปรับอัตราภาษีในช่วงอัตราร้อยละ 30 และอัตราร้อยละ 35

 2. เพิ่มวงเงินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 3. เพิ่มค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้เป็น 60,000 บาท ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท รวมทั้งค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคน และไม่จำกัดคน

 4. กรณีที่สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท

 5. กองมรดก ให้หักลดหย่อนเพิ่มเป็น 60,000 บาท


ภาษี2560

          จากโครงสร้างภาษีใหม่จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลง และคนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาทก็จะไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่จะคำนวณภาษีอย่างไรนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมนำข้อมูลเกี่ยวกับการยื่นภาษี พร้อมวิธีคำนวณภาษีมาแจกแจงให้ทราบกัน ลองไปอ่านกันเลย 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2561 ใครบ้างต้องยื่นแบบ ?



          ก่อนอื่นต้องบอกว่า ไม่ใช่ว่ามีเงินเดือนน้อยแล้วจะไม่ต้องยื่นแบบ เพราะจริง ๆ แล้วกรมสรรพากรได้กำหนดให้คนที่มีเงินได้แม้มีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายได้ด้วยเช่นกัน คือ
          คนโสด
          - หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท
          - หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
       
          คนมีคู่
          - หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท
          - หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

เช็กอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2561



          ในปีภาษี 2561 จะใช้โครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560 โดยกำหนดอัตราการเสียภาษีแบบขั้นบันได ตั้งแต่ 5-35% สำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิที่ไม่เกิน 150,000 บาท ยังได้รับการยกเว้นภาษีเช่นเดิม ดังนั้นแล้วจึงเท่ากับว่า คนที่มีเงินเดือนประมาณ 25,833 บาทขึ้นไป หรือมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน 310,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวรวม 160,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินได้สุทธิ 150,000 บาท ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี
          แต่หากใครมีรายได้ตลอดทั้งปีมากกว่า 310,00 บาท ก็จะต้องเสียภาษี แต่จะเสียภาษีมาก-น้อยแค่ไหนนั้น ต้องมาคิดคำนวณจากค่าลดหย่อนที่เรามีด้วย

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2561



         ใครที่ยังคำนวณไม่เป็น ก็ลองมาดูวิธีคำนวณภาษีเงินได้ที่นี่
1. ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล
          ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท ทันทีที่เรายื่นแบบภาษี

2. ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
          ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท สำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส โดยคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน ไม่ได้แยกยื่นแบบ

3. ค่าลดหย่อนบุตร
          ค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
          • หากเป็นบุตรตามกฎหมายสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนบุตร
          • หากเป็นบุตรบุญธรรม สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
          • หากมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้นำบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนำบุตรบุญธรรมมาหัก รวมกันได้ไม่เกิน 3 คน
          • กรณีผู้มีเงินได้มีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมเป็นจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้
          นอกจากนี้ บุตรที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีต้องมีคุณสมบัติตามนี้ด้วย
          • บุตรมีอายุอยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 20 ปีในปีภาษีนั้น
          • ถ้าบุตรมีอายุระหว่าง 21-25 ปีในปีภาษีนั้น ต้องกำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป
          • ถ้าบุตรมีอายุ 25 ปีขึ้นไปในปีภาษีนั้น ต้องเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
          • บุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป (ยกเว้นเงินปันผล) หรือรายได้ที่มีนั้นได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่น บุตรที่อายุไม่เกิน 20 ปี และรับเงินปันผล ซึ่งเงินปันผลนั้นจะถือว่าเป็นเงินของผู้ปกครอง และไม่ถือว่าบุตรมีรายได้
4. ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา
          ลดหย่อนจากบิดา-มารดา (ตัวเอง) และบิดา-มารดาคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท มากสุดคือ 4 คน ไม่เกิน 120,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ

          • บิดา-มารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
          • หากเป็นบิดา-มารดาของคู่สมรส จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ก็ต่อเมื่อคู่สมรสต้องไม่มีรายได้
          ทั้งนี้ต้องให้บิดา-มารดาออกหนังสือรับรองการเลี้ยงดู (ลย.03) ให้กับบุตรที่จะขอลดหย่อนภาษีด้วย เพราะลูกที่จะรับสิทธิลดหย่อนภาษี จะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียวเท่านั้น เช่น หากลูกคนโตใช้สิทธินี้ไปแล้ว ลูกคนอื่น ๆ ก็ไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้อีก
5. ค่าอุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
          สามารถใช้ลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 60,000 บาท หากเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
          ทั้งนี้ หากผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นบิดา-มารดา-บุตร-คู่สมรสของผู้มีเงินได้ ก็สามารถใช้สิทธิควบคู่กันได้เลย เช่น บิดาอายุเกิน 60 ปี เป็นผู้พิการ ไม่มีรายได้ เราสามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด (30,000+60,000 บาท) เท่ากับ 90,000 บาท
          หรือหากคู่สมรสเป็นผู้พิการและไม่มีรายได้ ก็สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท (ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 + ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000)
6. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
           เป็นค่าลดหย่อนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในปีนี้ โดยกำหนดให้ผู้ที่มีเงินได้หรือคู่สมรส สามารถนำค่าใช้จ่ายฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยมีเงื่อนไขคือ
           • เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจครรภ์ รับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด ค่ากินอยู่ในโรงพยาบาล
           • นำมาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท
           • สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับค่าใช้จ่ายที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป
           • หากเป็นค่าคลอดบุตรในการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกัน เช่น ตั้งครรภ์ปี 2561 แต่คลอดปี 2562 จะได้รับสิทธิลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงในปีที่ใช้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท
                เช่น ในปี 2561 จ่ายค่าฝากครรภ์ไปจำนวน 10,000 บาท ก็จะสามารถหักลดหย่อนภาษีปี 2561 ได้ 10,000 บาท ส่วนอีก 50,000 บาท สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเมื่อคลอดบุตรในปี 2562 ได้
           • หากจ่ายค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตรหลายคราวในปีภาษีเดียวกัน สามารถลดหย่อนภาษีได้คราวละไม่เกิน 60,000 บาท
                เช่น จ่ายค่าคลอดบุตรคนแรกในเดือนมกราคม 2561 จะสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท และถ้าหากในเดือนธันวาคม 2561 มีการตั้งครรภ์และฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 อีก ก็จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีกตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
           • กรณีคลอดบุตรแฝด สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์คราวเดียว
           • สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการตั้งครรภ์และคลอดบุตรมาหักลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าทารกที่คลอดจะมีชีวิตรอดหรือไม่

           • สามีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีค่าคลอดบุตรได้ไม่เกิน 60,000 บาท หากภรรยาไม่มีเงินได้
           • กรณีสามีและภรรยามีเงินได้ทั้งคู่ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีค่าตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้ 2 กรณีคือ
                - สามี-ภรรยา แยกยื่นภาษี : ภรรยาจะเป็นผู้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนสามีไม่สามารถใช้สิทธิได้
                - สามี-ภรรยา ยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน : ผู้ที่ยื่นภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท
           • สิทธิลดหย่อนภาษีดังกล่าว เมื่อนำไปรวมกับสิทธิการเบิกค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรจากสวัสดิการภาครัฐและเอกชน ต้องไม่เกิน 60,000 บาท
                อธิบายง่าย ๆ ก็คือ หากใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรจากสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ / สิทธิประกันสังคม / สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากนายจ้างภาคเอกชนแล้ว จะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้แค่ส่วนที่ยังไม่เกิน 60,000 บาทเท่านั้น
           เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ยื่นภาษี
           - ใบรับรองแพทย์
           - ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรให้แก่สถานพยาบาล

7. ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป
          ผู้มีเงินได้ หากมีบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่คลอดในปี 2561 สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีก 30,000 บาทต่อคน รวมเป็น 60,000 บาท ไม่ว่าบุตรคนแรกจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยค่าลดหย่อนนี้ประกาศใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2561
1. ประกันสังคม
         เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่เราโดนหักกัน 5% ทุกเดือน ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยลดหย่อนได้ตามจริงเท่าที่จ่ายไป มีเพดานสูงสุดอยู่ที่ปีละ 9,000 บาท (คำนวณจากรายได้สูงสุดที่เดือนละ 15,000 บาท)

2. เบี้ยประกันชีวิต
          สำหรับการขอลดหย่อนด้วยการซื้อประกันชีวิตนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีก็คือ
          - ประกันชีวิตแบบทั่วไป
          ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
             • ต้องเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
             • มีผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสม (เงินปันผลหรือเบี้ยคืนรายปี)
             • ต้องเป็นกรมธรรม์ที่ซื้อจากบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย
             • หากเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี ถือว่าผิดเงื่อนไข จะไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
             • หากเราซื้อประกันชีวิตให้คู่สมรสไว้ และคู่สมรสไม่มีรายได้ แต่ยังจ่ายเบี้ยประกันอยู่ ก็ยังสามารถนำเบี้ยประกันที่จ่ายไปมาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 บาท
          - ประกันชีวิตแบบบำนาญ
          ลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
             • ต้องเป็นประกันที่มีระยะเวลาเอาประกัน 10 ปีขึ้นไป
             • ต้องเป็นกรมธรรม์ที่ซื้อจากบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย
             • จ่ายผลตอบแทนให้ผู้เอาประกันตั้งแต่อายุ 55 ปีต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่านั้น
             • เมื่อรวมค่าเบี้ยประกันที่จ่ายให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
          หมายเหตุ
          หากมีประกันชีวิตแบบทั่วไปอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครบ 1 แสนบาท สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปรวมกับสิทธิลดหย่อนประกันชีวิตแบบทั่วไปได้ให้ครบ 1 แสนบาทก่อน ส่วนที่เหลือก็ยังสามารถนำมาลดหย่อนโดยใช้สิทธิเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญได้ 15% ของเงินได้ที่เสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
3. เบี้ยประกันสุขภาพ
          สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันสุขภาพที่นำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้
          • ประกันให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
          • ประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
          • ประกันภัยโรคร้ายแรง
          • ประกันภัยการดูแลระยะยาว
          อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ตรวจสอบกับบริษัทประกันก่อนว่า ประกันสุขภาพที่เราสนใจจะซื้อ หรือที่มีอยู่แล้วนั้นสามารถลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
4. เบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา
          ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา-มารดาของผู้มีเงินได้ ก็สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ
          • บิดา-มารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป
          • บิดาหรือมารดาต้องอยู่ในไทยไม่ต่ำกว่า 180 วันในปีภาษีนั้น
          • ลูกที่จะใช้สิทธิต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้น บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิได้
          • ลูกสามารถใช้สิทธิได้หลายคน โดยหารเฉลี่ยกัน เช่น ลูก 2 คน ร่วมกันซื้อประกันสุขภาพให้บิดา จำนวน 15,000 บาท ดังนั้นลูกแต่ละคนสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพบิดาไปลดหย่อนภาษีได้คนละ 7,500 บาท
          อย่างไรก็ตาม แบบประกันสุขภาพของบิดา-มารดาที่นำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นความคุ้มครองด้านใดด้านหนึ่งใน 4 ด้านเท่านั้น คือ
          • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หรือจ่ายเงินชดเชย จากการเจ็บป่วยทั่วไป
          • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล หรือจ่ายเงินชดเชย จากกรณีอุบัติเหตุ
          • คุ้มครองกรณีที่เป็นโรคร้ายแรง
          • ประกันคุ้มครองการพยาบาลสำหรับการเจ็บป่วยระยะยาว (Long Term Care)
          ทั้งนี้ หากบุตรหลายคนร่วมกันซื้อประกันสุขภาพให้บิดาหรือมารดา ก็สามารถนำมาหารเฉลี่ยเพื่อลดหย่อนภาษีได้ เช่น พี่น้อง 2 คน ซื้อเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดา 15,000 บาท ก็จะนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาท
5. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ Long term equity fund (LTF)
         อีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับนักลงทุนก็คือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ซึ่งสามารถนำจำนวนเงินที่ซื้อกองทุนมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ก็ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย
          ทั้งนี้ ได้มีการปรับเงื่อนไขการถือครอง LTF ใหม่ โดยผู้ที่ซื้อ LTF ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป จะต้องถือครองไว้อย่างน้อย 7 ปี (หรือ 5 ปี 2 วัน) จากเดิม 5 ปี (หรือ 3 ปี 2 วัน) ซึ่งจะนับตามปี พ.ศ. เช่น ซื้อ LTF ปี 2561 จะต้องถือไว้จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นอย่างน้อย และไม่สามารถโอนหรือจำนำไปเพื่อเป็นหลักประกันได้
          *ตัวอย่างการคำนวณลดหย่อนภาษีจาก LTF

          เช่น ผู้มีรายได้สุทธิ 3 ล้านบาทต่อปี หากสมมติว่าเสียภาษีในอัตรา 30% เมื่อคำนวณแล้วจะเท่ากับ 9 แสนบาท แต่เมื่อซื้อกองทุน LTF 15% ของรายได้แล้ว จะสามารถซื้อกองทุน LTF ได้วงเงินสูงสุด 450,000 บาท จึงนำรายได้สุทธิ 3 ล้านนั้น หักลดหย่อนจากกองทุนออก 450,000 เท่ากับ 2,550,000 บาท ก็จะได้เงินสุทธิที่เหลือจริง แล้วจึงนำไปคำนวณการจ่ายภาษีที่ 2,550,000 X 30% = 765,000 บาท ซึ่งจะลดลงจากเดิมที่ต้องจ่ายภาษี 9 แสนบาท
6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund หรือ RMF)
          สำหรับคนที่อยากมีเงินออมไว้ใช้ในวัยเกษียณ การซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย พร้อมทั้งได้รับผลตอบแทนจากการลดหย่อนภาษีคือ หักลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
          แต่ไม่ใช่ว่าจะหักลดหย่อนเท่าไรก็ได้ เพราะถ้าเรามีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือประกันชีวิตแบบบำนาญแล้ว เมื่อนำมารวมกับเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนใน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน
          สามารถคิดได้ตามสูตร RMF + กบข. + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กองทุนครูโรงเรียนเอกชน + ประกันชีวิตแบบบำนาญ + กองทุนการออมแห่งชาติ รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท
7. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
          บริษัทบางแห่งตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงานได้เก็บออม โดยหักเงินจากพนักงานทุกเดือนแล้วบริษัทสมทบให้เป็นจำนวนเท่ากัน ดังนั้นหากเราเป็นคนหนึ่งที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถนำจำนวนเงินที่จ่ายไปตามจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท มากรอกลดหย่อนภาษีได้ ส่วนจำนวนเงินที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
          และเช่นเดียวกัน เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกับ RMF, กบข., กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
8. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
          ข้าราชการที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เดือนละ 3% โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบเพิ่มให้อีก 3% ด้วยเช่นกัน สามารถนำเงินในส่วนที่เราจ่ายไปมาลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับกองทุนอื่น ๆ ดังที่กล่าวไปแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
9. กองทุนครูโรงเรียนเอกชน
          ครู-อาจารย์ก็สามารถนำเงินที่จ่ายเข้ากองทุนครูโรงเรียนเอกชนมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับ RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

10. กองทุนการออมแห่งชาติ
          ผู้ที่เป็นสมาชิกและจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ โดยสามารถหักลดหย่อนภาษีจากเงินสะสมเข้า กอช. ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดก็คือปีละ 13,200 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนอื่น ๆ ข้างต้นที่กล่าวไปก็ต้องไม่เกินกว่า 500,000 บาทเหมือนกัน

กรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



          * กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้พิการ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นผู้อยู่ในไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
          * กรณีเป็นผู้สูงอายุ มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
          * กรณีมีเครดิตภาษีเงินปันผล สำหรับคนที่ลงทุนในหุ้น ใช้ยกเว้นภาษีได้ตามสัดส่วนที่ได้รับจากเงินปันผล โดยแนะนำให้สมัครสมาชิกที่เว็บไซต์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วดาวน์โหลดเอกสารไปใช้ยื่นสรรพากรโดยที่เราไม่ต้องคำนวณให้ยุ่งยาก หรือหากยื่นภาษีทางออนไลน์ ก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์ไปใส่ในเว็บไซต์ยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากรได้เลย