วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำทักทายเอเชีย

1.ประเทศไทย  
คำทักทาย – สวัสดี
2.ประเทศบรูไน
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการาบรูไนดารุสซาลาม
คำทักทาย  – ซาลามัต ดาตัง     

3.ประเทศกัมพูชา หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “เขมร”
   คำทักทาย – ซัวสเด

4.ประเทศอินโดนีเซีย
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เนการา เคซาตวน เรปูบลิก อินโดเนเซีย 
คำทักทาย – ซาลามัต เซียง 

5.ลาว เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเราที่สุด
ชื่อภาษาท้องถิ่น – สาทาละนะลัต ปะซาทิปะไต ปะซาซนลาว
คำทักทาย – สะบายดี 
6.มาเลเซีย ทางใต้ของเรา เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิม ชุดประจำชาติก็จะคล้ายๆชุดมุสลิมครับ
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เปร์เซกูตาน มาเลเซีย
คำทักทาย – ซาลามัต ดาตัง 

7.พม่า เพื่อนบ้านทีน่ารักของเราอีกประเทศ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ปี่เด่าง์ซุ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ
คำทักทาย – มิงกาลาบา 

8.ฟิลิปปินส์ เกาะทางตะวันออกของอาเซียน แต่วัฒนธรรมและศาสนาค่อนข้างต่างกับในเอเชีย จนเคยมีนักเดินเรือชาวอังกฤษตั้งคำขวัญว่า
“ประเทศฟิลิปินส์เป็นส่วนนึงของละตินอเมริกาที่โดนคลื่นพัดมาทางเอเชีย”
ชื่อภาษาท้องถิ่น – เรปูบลิกา นัง ปิลิปินัส
คำทักทาย – กูมุสตา
9.สิงคโปร์ 
ชื่อภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ -รีพับลิก ออฟ สิงคโปร์
ภาษาจีน – ซินเจียโพ ก่งเหอกั๋ว
คำทักทาย – หนีห่าว 
10.ประเทศเวียดนาม
ชื่อภาษาท้องถิ่น – ก่ง หั่ว สา โห่ย จู่ เหงียน เหวียต นาม
คำทักทาย – ซินจ่าว

ดองไม้ประจำอาเชีย

10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก treknature.com , angkorandpeople.com , philamfood.com ,myanmars.net  


          เหลือเวลาอีกเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น การรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ ก็จะเริ่มต้นขึ้นแล้ว (พ.ศ. 2558) เพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาแต่ละประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีประเทศไทยกับเขาด้วย วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงมีข้อมูลเบา ๆ เกี่ยวกับดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาติอาเซียนในแต่ละประเทศมาฝากกันเพื่อเพิ่มเติมความรู้ ว่าแต่จะมีดอกไม้อะไรบ้าง อย่ารอช้ารีบไปดูกันเลย..

10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 1. บรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์

          ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน

          กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี

          ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) : ดอกจำปาลาว

          ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง

          สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว

          ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วยเช่นกัน


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า

          ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 8. ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์

          ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว

          ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

 10. สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่

          ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ

          รู้จักกันไปแล้วสำหรับดอกไม้ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ชาติ ที่หลายดอกก็คุ้นหน้าคุ้นตากันดีและเคยเห็นในประเทศไทยอยู่บ้าง หากพบเจอเพื่อนร่วมประชาคมอาเซียนที่แวะมาเยี่ยมเยียนเมืองไทยแล้วล่ะก็ ลองมอบดอกไม้เหล่านี้ให้เพื่อเป็นการต้อนรับ ก็คงจะสร้างความปลื้มใจให้ไม่น้อยอยู่เหมือนกันนะ

ชุดประจำชาติ10ประเทศในเอเชีย

อีกไม่นานก็จะถึงการรวมตัวของประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อการพัฒนาและความก้าวหน้าของกลุ่มประเทศ อาเซียน วันนี้เราขอนำเสนอ ชุดประจำชาติสวยๆ ของประเทศสมาชิกอาเซียนกันครับ
ชุดประจำชาติอินโดนีเซีย


ชุดประจำชาติอินโดนีเซีย
ชุดประจำชาติอินโดนีเซีย
เคบาย่า เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก สำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
ชุดประจำชาติพม่า


ชุดประจำชาติพม่า
ชุดประจำชาติพม่า
ลองยี คือชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่า เพื่อความสะดวกในการสวมใส่
ชุดประจำชาติบรูไน


ชุดประจำชาติบรูไน
ชุดประจำชาติบรูไน
สำหรับ ชุดของผู้ชาย เรียกว่า Baju Melayu ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า Baju Kurung คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้า ที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง
ชุดประจำชาติเวียดนาม


ชุดประจำชาติเวียดนาม
ชุดประจำชาติเวียดนาม
อ่าวหญ่าย เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็น ชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงานหรือพิธีศพ
ชุดประจำชาติลาว


ชุดประจำชาติลาว
ชุดประจำชาติลาว
ผู้หญิง ลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย
ชุดประจำชาติสิงคโปร์


ชุดประจำชาติสิงคโปร์
ชุดประจำชาติสิงคโปร์

สำหรับประเทศสิงคโปร์ชุดประจำชาติจะแตกต่างกันออกไปตามเชื้อชาติของชาวสิงคโปร์ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป
ชุดประจำชาติฟิลิปปินส์


ชุดประจำชาติฟิลิปปินส์
ชุดประจำชาติฟิลิปปินส์
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก

ชุดประจำชาติไทย


ชุดประจำชาติไทย
ชุดประจำชาติไทย

สำหรับ สุภาพสตรีคือชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน สำหรับสุภาพบุรุษจะใส่เสื้อพระราชทาน
ชุดประจำชาติกัมพูชา


ชุดประจำชาติกัมพูชา
ชุดประจำชาติกัมพูชา

ซัมปอต (Sampot) เป็น เครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชาสำหรับผู้หญิงซึ่งมีความคล้าย คลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลากหลายรูปแบบ ส่วนผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขน ยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว
ชุดประจำชาติมาเลเซีย


ชุดประจำชาติมาเลเซีย
ชุดประจำชาติมาเลเซีย

สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า Baju Melayu (บาจู มลายู) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้ายส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า Baju Kurung (บาจูกุรุง) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว

กีฬาประจำชาติอาเชียน

กีฬาประจำชาติของประเทศอาเซียน

     ทุกคนควรจะได้มารู้จักกีฬาประจำชาติอาเซียนเพื่อบ้านใกล้เรือนเคียงกันว่าแต่ละประเทศนั้นมีกีฬาประจำชาติอะไรกันบ้างหรือประชาชนของประเทศนั้นๆเล่นกีฬาอะไร  เชิญนักเรียนมาติดตามและรับความรู้ได้แล้วครับ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


กีฬาประจำประเทศไทย คือ มวยไทย เเละ ตะกร้อ


ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)  
  
 

          กีฬามวยไทย  มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภทนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและป้องกันชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝนวิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างชัดเจนทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธรบในสมัยโบราณเช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าสู้ติดพันประชิดตัวก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้น ผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดาอาจารย์ ซึ่งเดิมเป็นยอดขุนพล หรือนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้



10.2 กีฬาตะกร้อ ชมคลิปอธิบายประวัติและการเล่นได้เลยครับ



กีฬาประจำประเทศฟิลิปปินส์ คือ ชกมวย(กีฬายอดนิยม)


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)  

 

        ในด้านกีฬาจะเห็นได้จากกีฬาบาสเก็ตบอล (basketball) ซึ่งจัดเป็นกีฬายอดนิยมของชาติ กีฬาทำชื่อเสียงให้กับฟิลิปปินส์อื่นๆ ได้แก่ ชกมวย ว่ายน้ำ ศิลปะการต่อสู้ นักมวยของฟิลิปปินส์ที่ทำชื่อเสียงในระดับนานาชาติมีเช่น Manny Pacquiao., แชมเปี้ยนบิลเลียด ได้แก่ Efren Reyes, แชมเปี้ยนหมากรุกได้แก่ Eugene Torre.สำหรับกีฬาบาสเก็ตบอลฟิลิปปินส์มีทีมอาชีพและมีการจัดการแข่งขันที่มีบริษัทและองค์กรสนับสนุนอย่างดีและมีผู้ชมหนาตา


                               
                                                                     

กีฬาประจำประเทศมาเลเซีย คือ silat


ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) 

      

                 silat ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้
2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา
                 ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่      แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับ                ความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ
       1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้
       2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่  ศิลปะการป้องกันตัว Silat
       3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน
       ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น
1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย



กีฬาประจำประเทศลาว คือ กีฬาพื้นบ้านลูกข่าง


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
                                                                                                          
     
กีฬาพื้นบ้านลูกข่าง  เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 ซึ่งประเทศลาวเป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขัน มีวิธีการเล่นเหมือนกับประเทศไทยลูกข่างถือเป็นการละเล่นชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นโดยการผูกด้วยเชือก และขว้างลูกขว้างลงพื้นให้เกิดการหมุน โดยมีกติกาการเล่น (1) หากขว้างลูกข่างไม่หมุนหรือออกนอกวงถือว่าแพ้ (2) ผู้แพ้จะต้องนำลูกข่างของตนวางในวงกลมเพื่อให้คนอื่นใช้ลูกข่างที่พันเชือกขว้างไปบนลูกข่างนั้นเป็นการลงโทษ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น
1.ลูกข่าง ส่วนมากจะทำจากไม้มะยมกลึงมีตะปูเป็นเดือยแหลมตรงกลางคนละ 1 ลูก
2.เชือกยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ปลายเชือกด้านหนึ่งผูกด้วยไม้ หรือร้อยด้วยฝาเบียร์
3.วงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 เซนติเมตร
วิธีเล่น 
ในการเล่นลูกข่างไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น ก่อนเล่นจะขีดวงกลมขนาด 50-60 เซนติเมตรบนพื้นดิน แล้วจัดลำดับการเล่นตามวิธีการจัดลำดับก่อนการเล่นดังกล่าวแล้วก่อนเล่นทุกคนใช้เชือกพันลูกข่างของตน โดยพันจากปลายเดือยขึ้นมาจนถึงตัวลูกข่าง แล้วถือชายหนึ่งไว้ระหว่างซอกนิ้วชี้และนิ้วกลาง ส่วนหัวแม่มือหงายรองรับปลายเดือยลูกข่างไว้ เมื่อเริ่มเล่นผู้เล่นจะขว้างลูกข่างตกถึงพื้นจะหมุนหากลูกข่างของผู้ใดไม่หมุน หรือออกนอกวงถือว่าแพ้จะถูกทำโทษด้วยการให้เจ้าของลูกข่างนำลูกข่างของตนวางไว้ในวงกลม ให้ผู้อื่นนำลูกข่างที่พันเชือกเตรียมไว้ขว้างลงไปบนลูกข่างนั้นเรียกว่า “โจ๊ะลูกข่าง” ทีละคน หากลูกข่างทำจากไม้ไม่ดีจะแตก แต่ถ้าทำจากไม้มะยมจะเป็นเพียงรอยเจาะเท่านั้น

กีฬาประจำประเทศเวียดนาม คือ โววีนัม



สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม(The Socialist Republic of Vietnam)




โววีนัม (Vovinam) คือชื่อของกีฬาศิลปะป้องกันตัวของประเทศเวียดนาม ซึ่ง Wikipedia ได้อธิบายความหมายตรงตัวว่า Vo หมายถึง ศิลปะป้องกันตัว ส่วน Vinam หมายถึงเวียดนาม อันเป็นศิลปะป้องกันตัวที่ได้มีการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1938 โดย มาสเตอร์ เหวง ลอค ผู้คิดค้นศาสตร์ชนิดนี้ขึ้นมาภายใต้ความกดดันจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มายาวนานกว่าร้อยปี เขาจึงคิดว่าในการสร้างประเทศขึ้นมาใหม่ จะต้องส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้มแข็ง รู้จักเรียนรู้ที่จะป้องกันตัว และดูแลตัวเองให้สมดุล คือ ทั้งอ่อนและแข็งผสมกันคล้ายกับความเชื่อเรื่องยิน-หยาง จากนั้นศิลปะป้องกันตัวอันเกิดจากการศึกษาทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ สุขภาพ ศาสนาและปรัชญาของมาสเตอร์เหวง ลอค ก็ผสมผสานกันจนกลายมาเป็นโววีนัม และได้แพร่หลายไปทั่วโลกเริ่มจากฝรั่งเศส เยอรมนี และอีกหลายประเทศในยุโรป ไปจนถึงอเมริกา ออสเตรเลีย ที่ต่างก็มีสมาคมโววีนัมของตัวเอง และล่าสุดกีฬาชนิดนี้ก็ยังจะได้รับการบรรจุเป็นครั้งแรกในการแข่งขันอาเซียน อินเดอร์เกมส์ที่เวียดนามในปี 2009 ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมของนักกีฬา เพื่อเข้าแข่งขันในอนาคตอันใกล้นี้ กีฬาชนิดนี้มีความน่าสนใจตรงที่มันเป็นการผสมผสานกันของกีฬาหลากหลายชนิด มีความใกล้เคียงทั้งเทควันโด มวยไทย มวยจีน แล้วยังมีคนบอกว่าคล้ายกับวูซู เพราะมีการรำดาบ ทวน กระบอง หรือการใช้ร่มเพื่อเป็นการป้องกันตัวสำหรับผู้หญิง” ปราโมทย์ สุขสถิตย์ วัย 30 ปี อดีตนักกีฬาเทควันโดทีมชาติ ผู้ผันตัวเองมาบุกเบิกกีฬาชนิดนี้ บอกถึงที่มาและความแตกต่างของโววีนัม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะการป้องกันตัวอันหลากหลายในแถบเอเชีย

กีฬาประจำประเทศอินโดนีเซีย คือ เคมโป คาราเต้



สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)     

  

เคมโป คาราเต้  – ​เคม​โป​เป็นกีฬาที่มีรากฐานมาจากประ​เทศญี่ปุ่น ​โดยมีสำนักงาน​ใหญ่ของสหพันธ์อยู่ที่​โอซากา ประ​เทศญี่ปุ่น ​ได้รับ​ความนิยม​ในมา​เล​เซีย, ​เวียดนาม, ติมอร์ ​และ บรู​ไน ​โดย​ในอิน​โดนี​เซียมีคน​เล่นกีฬาชนิดนี้กว่า 400,000 คน ​เท่าที​ได้สัมผัสจาก​การอธิบาย​และ​การสาธิต​แล้ว​ไม่ค่อยจะต่างจากคารา​ เต้ ​โดยจะ​เป็น​การผสมผสานกันระหว่าง​เทควัน​โด-ยู​โด-คารา​เต้ ​ซึ่ง​การ​แต่งตัว​ก็มีลักษณะคล้ายกันด้วย    ส่วน​การออกอาวุธจะ​ใช้​ทั้ง​การ​เตะ, ต่อย, ทุ่ม, บิด, ล็อก ตัดสิน​แพ้ชนะด้วยคะ​แนน ​แบ่ง​การ​แข่งขัน​เป็นรุ่นน้ำหนัก ​เชื่อว่าอิน​โดนี​เซียจะ​เดินหน้า​เต็มที่​เพื่อบรรจุ​เคม​โป​ในซี​เกมส์ครั้งต่อๆ ​ไป​โดย​เฉพาะซี​เกมส์ครั้งที่ 26 ที่อิน​โดนี​เซียจะ​เป็น​เจ้าภาพ​ในปี 2554
ตารุง เดราจัต (กีฬาต่อสู้) ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซียปลายปีนี้ เจ้าภาพได้บรรจุ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวของชาวชวาตะวันตก เป็นกีฬาสาธิต แม้กีฬาชนิดนี้จะยังไม่คุ้นหูของคนไทย แต่สำหรับชาวอินโดเซียแล้ว นี่คือกีฬาระดับชาติที่ใช้ทดสอบความแข็งแกร่งของร่ายกายและจิตใจ เตะ… หมัด… ถีบ… คือการออกอาวุธหลัก 3 อย่าง ของ “ตารุง เดราจัต” ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว ที่คนอินโดนีเซียทุกเพศทุกวัยรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยมีนายอัชหมัด เดดจัต หรือคนที่นี่เรียกว่า “ซาง กูรู” เป็นผู้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 40 ปีก่อนเนื่องจากในวัยหนุ่มเค้ามักจะถูกเพื่อนๆ รุมแกและทำร้าย จึงพยายามฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรง พร้อมๆ ไปกับการนำเอาจุดเด่นของศิลปะการต่อสู้หลากหลายแขนง มาประยุกต์เข้าด้วยกัน จนกลายแบบฉบับของตัวเอง โดยตั้งชื่อว่า “ตารุง เดราจัต” ต่อมาไม่ ว่าจะซางกูรูในวัยหนุ่มจะถูกรุมแตะ ต่อย หรือทำร้ายด้วยของแข็ง เค้าก็สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้เสมอ เพราะตารุง เดราจัต ไม่ได้ใช้พละกำลังด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ยังต้องรวบรวมสมาธิและความแข็งแกร่งด้านจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับร่างกายด้วย
ตารุง เดราจัต ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศอินโดนีเซีย